[Joint Statement] Thailand: End harassment of Suchanee Cloitre, human rights defenders
26 October 2020 1:27 pm
*Please scroll down for a Thai version of this statement.
Thailand: End harassment of Suchanee Cloitre, human rights defenders
Baseless criminal defamation cases undercut labor rights protections
26 October 2020
We, the undersigned twelve human rights organizations, call on Thailand’s government to immediately end the harassment through the judicial system of journalist Suchanee Cloitre and to take concrete steps to protect journalists and human rights defenders from frivolous criminal proceedings. On 27 October, the Lopburi Court of Appeal will deliver the verdict in an appeal by Suchanee, who was convicted last year in a case initiated by Thammakaset Company Limited. The case underscores the need to repeal criminal defamation provisions in Thailand’s Criminal Code, which have frequently been used by businesses and powerful individuals to silence their critics.
The charges against Suchanee stem from a tweet concerning alleged labor rights violations at a chicken farm operated by Thammakaset in Lopburi Province. According to a complaint filed by workers with the National Human Rights Commission of Thailand, the company failed to pay minimum wage or overtime, did not provide adequate rest time and holidays, and confiscated identity documents, among other abuses. In 2016, the Lopburi Department of Labor Protection and Welfare ordered Thammakaset to pay THB 1.7 million in compensation to the workers, a penalty that was later upheld by Thailand’s Supreme Court.
At the time of her tweet in 2017, Suchanee was a journalist for Voice TV and reported on the allegations. In March 2019, Thammakaset filed a criminal complaint against Suchanee under sections 326 and 328 of the Criminal Code, concerning defamation and libel, respectively. In December 2019, the Lopburi Provincial Court convicted Suchanee under both provisions and sentenced her to non-probational two years’ imprisonment.
Suchanee is only one of many individuals targeted by Thammakaset. Since 2016, Thammakaset has initiated civil and criminal cases against 22 individuals and Voice TV for speaking out about the company’s alleged labor right violations. Among the accused are former Thammakaset employees, labor rights activists, an academic, women human rights defenders, and a former commissioner from the National Human Rights Commission of Thailand.
In March 2020, four United Nations Special Rapporteurs and the chairs of two UN Working Groups wrote to the Thai government to express concern about the “continued judicial harassment by Thammakaset Co. Ltd (Thammakaset), of human rights defenders, migrant workers, journalists and academics for denouncing exploitative working conditions of migrant workers”.
The Thai government’s National Action Plan on Business and Human Rights, adopted in 2019, set combatting “strategic lawsuits against public participation” (SLAPP) and preventing prosecution of human rights defenders as major priorities for the government. However, the government has failed to act decisively to achieve this objective. Earlier this month, the Thai government further undermined its commitment to ensuring a rights-respecting business environment by awarding a human rights prize to Mitr Phol Co. Ltd, a sugar company facing a class action lawsuit over alleged human rights abuses in Cambodia.
In December 2018, Thailand’s National Legislative Assembly amended the Criminal Procedure Code to include two provisions, sections 161/1 and 165/2, that could be used to dismiss criminal cases against those acting in the public interest. This reform was cited in the National Action Plan as evidence of the government’s attempt to prevent SLAPP lawsuits. However, to date, judges have refused to consistently apply these provisions in spurious criminal cases filed by Thammakaset and other private actors against journalists and human rights defenders.
While the proactive application by judges of sections 161/1 and 165/2 to dismiss abusive cases against human rights defenders and others acting in the public interest would be a positive step, more far-reaching reforms are necessary.
We call on the Thai government to decriminalize defamation, including by repealing or amending sections 326-333 of the Criminal Code and section 14 of the Computer Crimes Act. There is growing international consensus in favor of decriminalizing defamation, as recognized in the UN Human Rights Committee’s General Comment No. 34, which emphasized that custodial sentences are never an appropriate penalty for defamation.
We also call on the government to take immediate steps to end frivolous criminal proceedings against journalists, human rights defenders, and whistleblowers, including those accused by Thammakaset.
Signed:
- Amnesty International
- ARTICLE 19
- ASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR)
- The Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA)
- Community Resource Center (CRC)
- Civil Rights Defenders
- Fortify Rights
- Human Rights Lawyers Association
- Human Rights Watch
- International Federation for Human Rights (FIDH)
- Thai Lawyers for Human Rights (TLHR)
- World Organisation Against Torture (OMCT)
**
ภาษาไทย
ประเทศไทย: หยุดการคุกคามต่อสุชาณี คลัวเทรอ, นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
การฟ้องคดีไม่มีมูลทำให้การปกป้องสิทธิแรงงานเป็นไปได้ยากขึ้น
26 ตุลาคม 2563
เรา, องค์กรสิทธิมนุษยชนสิบสององค์กรที่ลงชื่อใต้แถลงการณ์นี้, เรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดการคุกคามทางกฎหมายผ่านกระบวนการยุติธรรมต่อนักข่าว สุชาณี คลัวเทรอ และมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีน้ำหนัก ในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ ศาลจังหวัดลพบุรีจะอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ในคดีของสุชาณี ซึ่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษในคดีที่ริเริ่มโดยบริษัทธรรมเกษตร คดีนี้เน้นย้ำความจำเป็นในการยกเลิกข้อกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาซึ่งถูกใช้บ่อยครั้งโดยบริษัทธุรกิจและปัจเจกบุคคลที่มีอำนาจในการปิดปากคนวิพากษ์วิจารณ์
การฟ้องคดีต่อสุชาณีเกิดจากการทวีตเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในฟาร์มไก่ของบริษัทธรรมเกษตรในจังหวัดลพบุรี จากข้อร้องเรียนของแรงงานที่ส่งให้ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพบว่าบริษัทไม่ได้จ่ายค่าแรงขั้นต่ำและค่าแรงล่วงเวลา ไม่ได้จัดหาเวลาพักและวันหยุดอย่างพอเพียง และมีการยึดเอกสารประจำตัวของคนงาน ในปี 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในจังหวัดลพบุรีได้มีคำสั่งให้บริษัทธรรมเกษตรจ่ายค่าชดเชย 1.7 ล้านบาทให้กับแรงงาน ซึ่งเป็นบทลงโทษที่ศาลฎีกาได้พิพากษายืน
สุชาณีเป็นนักข่าววอยซ์ทีวีในปี 2560 ซึ่งเป็นเวลาที่เธอทวีตข้อความดังกล่าวและรายงานข้อกล่าวหาที่ว่า ในเดือนมีนาคมปี 2562 ธรรมเกษตรได้ฟ้องคดีอาญาต่อสุชาณีภายใต้มาตรา 326 และ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยการหมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามลำดับ ในเดือนธันวาคมปี 2562 ศาลจังหวัดลพบุรีได้ตัดสินจำคุกสุชาณีสองปีโดยไม่รอลงอาญา
สุชาณีเป็นหนึ่งในผู้คนจำนวนมากที่ตกเป็นเป้าหมายของธรรมเกษตร ตั้งแต่ปี 2559, ธรรมเกษตรได้ริเริ่มคดีอาญาและคดีแพ่งต่อประชาชน 22 คนและวอยซ์ทีวี จากการที่ประชาชนและวอยซ์ทีวีพูดถึงการละเมิดสิทธิแรงงานของบริษัท ในจำนวนนี้รวมถึงอดีตลูกจ้างของธรรมเกษตร นักกิจกรรมสิทธิแรงงาน นักวิชาการ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิง และอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในเดือนมีนาคม 2563 สี่ผู้รายงานพิเศษและประธานของสองคณะทำงานแห่งสหประชาชาติได้เขียนถึงรัฐบาลไทยเพื่อแสดงความเป็นกังวลต่อการ “คุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรมอย่างต่อเนื่องโดยบริษัทธรรมเกษตรต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน แรงงานข้ามชาติ นักข่าว และนักวิชาการ จากการไม่ยอมรับสภาพการจ้างงานอย่างเอารัดเอาเปรียบต่อแรงงานข้ามชาติ”
แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลไทยที่นำมาปฏิบัติในปี 2562 ได้ตั้งเป้าหมายให้ความสำคัญกับการลดการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะ (Strategic Lawsuit Against Public Participation) หรือ SLAPPs และป้องกันการดำเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกลับล้มเหลวในจุดประสงค์ข้อนี้ ต้นเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยเพิ่งลดทอนคำมั่นสัญญาของตัวเองในการปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยการมอบรางวัลด้านสิทธิมษยชนให้กับบริษัทมิตรผล บริษัทน้ำตาลที่ถูกฟ้องคดีกลุ่มเนื่องจากการละเมิดสิทธิมนูษยชนในกัมพูชา
ในเดือนธันวาคมปี 2562 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยเพิ่มกฎหมายสองข้อในมาตรา 161/1 และ 165/2 ซึ่งให้อำนาจในการไม่รับฟ้องคดีต่อบุคคลที่ถูกกล่าวหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ การปฏิรูปนี้ถูกอ้างอิงในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนว่าเป็นหลักฐานความพยายามของรัฐบาลในการป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อต่อต้านการมีส่วนร่วมของสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาได้ปฏิเสธที่จะใช้กฎหมายสองตัวนี้ในคดีไม่มีมูลที่ฟ้องโดยธรรมเกษตรและบริษัทเอกชนอื่นต่อนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน จนถึงทุกวันนี้
ในขณะที่การบังคับใช้มาตรา 161/1 และ 165/2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยผู้พิพากษาในการยุติคดีที่ละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะจะเป็นก้าวที่น่าชื่นชม การปฏิรูปที่มีผลมากกว่านั้นก็ยังจำเป็นเช่นกัน
เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกโทษทางอาญาของการหมิ่นประมาท โดยการยกเลิกหรือแก้ไขมาตรา 326-333 ในประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในระดับสากลนั้น ฉันทามติว่าด้วยการยกเลิกโทษทางอาญาของการหมิ่นประมาทนั้นเพิ่มสูงขึ้น เช่นที่มีการรับรองไว้ในข้อวินิจฉัยทั่วไป (General Comment) ที่ 34 ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเน้นว่าการจำคุกไม่ใช่การลงโทษที่เหมาะสมของการหมิ่นประมาท
เรายังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามมาตรการในการหยุดกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีน้ำหนักต่อนักข่าว นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และผู้แจ้งเบาะแสโดยทันที
รายชื่อ:
- Amnesty International
- ARTICLE 19
- ASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR)
- The Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA)
- ศูนย์ข้อมูลชุมชน Community Resource Center (CRC)
- Civil Rights Defenders
- Fortify Rights
- สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน Human Rights Lawyers Association
- Human Rights Watch
- International Federation for Human Rights (FIDH)
- ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน Thai Lawyers for Human Rights (TLHR)
- World Organisation Against Torture (OMCT)
**
For a PDF version of this statement in English, please click here.
For a PDF version of this statement in Thai, please click here.
For further information, please contact:
- East Asia and ASEAN Programme, FORUM-ASIA, [email protected]
For media inquiries, please contact:
- Melissa Ananthraj, Communication and Media Programme Manager, FORUM-ASIA, [email protected]