Joint Open letter to the Prime Minister of Thailand to Drop Charges against Phuketwan Journalists
9 July 2015 10:41 am

 

Logos

 

July 9, 2015

Gen. Prayuth Chan-ocha

Prime Minister

Royal Thai Government

Bangkok, Thailand

RE: Drop Charges against Phuketwan Journalists Alan Morison and Chutima Sidasathian

Dear Prime Minister Prayuth Chan-ocha,

We write to you as international and regional organizations working to protect the rights to freedom of expression and freedom of the media to raise serious concerns about the Royal Thai Government’s decision to seek the prosecution of Phuketwan editor Alan Morison and reporter Chutima Sidasathian for criminal libel and for violating the Computer Crime Act (CCA). We urge the government to immediately and unconditionally withdraw the criminal libel complaint and to have the CCA charges dropped. Proceeding with the trial of these two journalists, slated to start on July 14, 2015, would be in violation of Thailand’s commitments under international law.

The complaint by the Royal Thai Navy focuses on Phuketwan’s website posting from July 17, 2013, concerning the smuggling of Rohingya, an ethnic minority group in Myanmar facing systemic discrimination and violence. Phuketwan’s post reproduced one paragraph from an article (“Special Report: Thai authorities implicated in Rohingya Muslim smuggling network”) by another media organization, Reuters, which has not been contested by the Navy.

The use of criminal defamation is an unnecessarily heavy-handed response to any concerns the Navy may have with the article and contrary to free expression rights. Rather than prosecuting the Phuketwan journalists, the Thai government should withdraw these charges and adopt an alternative rights-respecting approach to address its concerns with Phuketwan. Such alternative could see the Navy instead seek a dialogue with Phuketwan, or request an opportunity to publish the Navy’s account of the matter, or issue a statement to rebut or clarify the allegations made. We believe it is not too late for the Thai government to undertake such an alternative to criminal prosecution, which would demonstrate respect for fundamental rights on a matter of concern to many foreign governments.

Thailand’s prosecution of the Phuketwan journalists would violate its obligations under article 19 of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR), which provides that “everyone shall have the right to freedom of expression; this right shall include the freedom to seek, receive and impart information and ideas of all kinds.”

Permissible restrictions on the right to freedom of expression do not pertain in this case. Any restrictions on the right to freedom of expression must meet a strict three part test: they must be provided for by law; must be done for the purpose of protecting only specified public interests: national security, public order, or public health or morals, or the rights or reputations of others; and must be proportionate as well as demonstrably and strictly necessary to meet those interests (i.e. being the least restrictive measure to achieve the specified purpose).

The United Nations Human Rights Committee, which monitors state compliance with the ICCPR, in General Comment No. 34, paragraph 35, states that “when a State party invokes a legitimate ground for restriction of freedom of expression, it must demonstrate in specific and individualized fashion the precise nature of the threat, and the necessity and proportionality of the specific action taken, in particular by establishing a direct and immediate connection between the expression and the threat.” Yet neither the Thai Navy nor the Thai government has done this, nor explained why other actions short of the legal action initiated against the two journalists at Phuketwan would suffice to meet their concerns.

Furthermore, paragraph 42 of General Comment No. 34 notes that “The penalization of a media outlet, publishers or journalist solely for being critical of the government or the political social system espoused by the government can never be considered to be a necessary restriction of freedom of expression.” Finally, in paragraph 47 of General Comment No. 34, the Human Rights Committee calls on states to decriminalize defamation and libel and has stressed that such laws must never be used to stifle freedom of expression.

Our organizations, along with an increasing number of governments, concur with the UN Human Rights Committee that criminal defamation laws should be abolished because criminal penalties infringe on free expression and are always disproportionate punishments for reputational harm. Criminal defamation laws are open to easy abuse, resulting in very harsh consequences, including imprisonment. As repeal of criminal defamation laws in an increasing number of countries shows, such laws are not necessary for the purpose of protecting reputations. The Johannesburg Principles on National Security, Freedom of Expression and Access to Information, an influential set of principles issued in 1996 by international legal experts, state that “No one may be punished for criticizing or insulting … public officials, … unless the criticism or insult was intended and likely to incite imminent violence.”

Further, by continuing on this course, the Thai government is acting contrary to its own policy enunciated in the government’s national report to the Universal Periodic Review (UPR) process of the UN Human Rights Council on October 5, 2011. The Thai government’s presentation stated that:

The right to freedom of opinion and expression is the bedrock of Thailand’s democratic society. The Constitution guarantees freedom of a person to express opinions, make speeches, write, print and publicize; prohibits the closure, interference or censorship of a newspaper or other mass media; and bans politicians from owning media outlets. Thailand also plays host to numerous international press agencies, civil society organizations and international NGOs, all of which attest to the free atmosphere that is conducive to news reporting and the free flow of information.

Put simply, by taking legal action against Phuketwan, the Thai government is threatening precisely the rights that the government itself described as the “bedrock of Thailand’s democratic society.”

The use of the Computer Crime Act in this case is also particularly troubling, especially since this appears to be the first time that one of the services of the Thai armed forces has ever used the CCA against journalists. Our organizations urge that this draconian, rights-abusing law should be repealed or amended to comply with international law and standards instead of being used as a tool to silence journalists writing for newspapers, blogs, or other media. We are concerned that article 14(1) of the CCA under which the Phuketwan journalists are charged is vaguely worded and overly broad, and is clearly being used by the government in this case to suppress media freedom and silence the voice of Phuketwan.

Alan Morison and Chutima Sidasathian have been unfairly charged with serious offenses for simply doing their jobs in a system that authorities claim is committed to respecting freedom of expression and the media. Their actions should not constitute a crime. We sincerely hope that you will recognize this and request an immediate withdrawal of all criminal complaints and charges against the Phuketwan journalists, seeking an end to the prosecution.

We look forward to hearing from you on this important matter.

Sincerely,

 

Brad Adams

Asia Director

Human Rights Watch

 

Evelyn Balais-Serrano

Executive Director

Asia Forum for Human Rights and Development (Forum Asia)

 

Richard Bennett

Director, Asia-Pacific

Amnesty International

 

Karim Lahidji

President

International Federation for Human Rights (FIDH)

 

Edgardo Legaspi

Executive Director

Southeast Asian Press Alliance (SEAPA)

 

Charles Santiago

Chairperson

ASEAN Parliamentarians for Human Rights

 

Ian Seiderman

Legal and Policy Director

International Commission of Jurists

 

Gerald Staberock

Secretary General

World Organization Against Torture (OMCT)

 

Click here to download the PDF

———————————————————————————

(Thai Version)

9 กรกฎาคม 2558
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทย
กรุงเทพฯ ประเทศไทย
เรื่อง ขอให้ถอนฟ้องคดีต่อ Alan Morison และชุติมา สีดาเสถียร นักข่าวของสำนักข่าวภูเก็ตหวาน
เรียน นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา

เราเขียนจดหมายถึงท่านในนามขององค์กรระหว่างประเทศและภูมิภาค ที่ทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อมวลชน เพื่อให้ท่านทราบถึงสิ่งที่เรากำลังเป็นกังวลอย่างมาก ต่อกรณีที่รัฐบาลไทยตัดสินใจดำเนินคดีกับ Alan Morison บรรณาธิการ และชุติมา สีดาเสถียร ผู้สื่อข่าว สำนักข่าวภูเก็ตหวาน ข้อหาหมิ่นประมาทและละเมิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาทและคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้กำหนดการพิจารณาคดีต่อนักข่าวทั้งสองท่านจะเริ่มขึ้นในวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ซึ่งถือว่าขัดกับพันธกรณีของประเทศไทยที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

ข้อกล่าวหาของกองทัพเรือไทยเกี่ยวข้องกับการรายงานข่าวในเว็บไซต์ของสำนักข่าวภูเก็ตหวาน เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2556 กรณีการลักลอบนำชาวโรฮิงญาเข้าเมือง โดยบุคคลเหล่านี้เป็นชนชาติพันธุ์กลุ่มน้อยในพม่าที่เผชิญกับการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงอย่างเป็นระบบ ในเนื้อหาข่าวของสำนักข่าวภูเก็ตหวานมีการอ้างอิงข้อความหนึ่งย่อหน้าจากบทความของสำนักข่าวรอย เตอร์ (“Special Report: Thai authorities implicated in Rohingya Muslim smuggling network” รายงานพิเศษ: ทางการไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายลักลอบนำชาวมุสลิมโรฮิงญาเข้าเมือง) โดยทางกองทัพเรือไม่ได้โต้แย้งต่อรอยเตอร์แต่อย่างใด
การใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาเป็นการตอบโต้ที่รุนแรงและไม่จำเป็น แม้จะเป็นผลมาจากข้อกังวลของกองทัพเรือที่มีต่อบทความดังกล่าว และยังถือว่าขัดกับหลักการของสิทธิในการแสดงออกอย่างเสรี แทนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีกับนักข่าวของสำนักข่าวภูเก็ตหวาน รัฐบาลไทยควรยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดและใช้แนวทางการทำงานที่เคารพต่อสิทธิ เพื่อตอบสนองกับข้อกังวลต่อสำนักข่าวภูเก็ตหวาน โดยแนวทางเลือกดังกล่าวอาจรวมถึงกรณีที่กองทัพเรือพูดคุยเจรจากับสำนักข่าวภูเก็ตหวาน หรือขอให้ทางสำนักข่าวตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในประเด็นเดียวกันจากฝั่งของกองทัพเรือ หรือกองทัพเรืออาจออกแถลงการณ์ตอบโต้หรือชี้แจงข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้น เราเชื่อว่ายังไม่สายเกินไปที่รัฐบาลไทยจะใช้วิธีการที่เป็นทางเลือกดังกล่าวแทนการฟ้องคดีทางอาญา ที่แสดงให้เห็นถึงการเคารพต่อสิทธิขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นข้อกังวลของรัฐบาลหลายประเทศ
การที่รัฐบาลไทยฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนักข่าวสำนักข่าวภูเก็ตหวาน ถือเป็นการละเมิดพันธกรณีตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งกำหนดว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท”
ในกรณีนี้ไม่ได้มีข้อยกเว้นให้สามารถจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกแต่อย่างใด การจำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกไม่ว่าในกรณีใด ต้องสอดคล้องอย่างเข้มงวดกับหลักเกณฑ์สามประการ ได้แก่ ต้องเป็นข้อยกเว้นที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ต้องกระทำเพียงเพื่อมุ่งคุ้มครองประโยชน์สาธารณะที่ชัดเจน อาทิ ความมั่นคงแห่งชาติ ความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ หรือสุขอนามัยหรือศีลธรรมอันดีของสังคม หรือเป็นการคุ้มครองสิทธิหรือชื่อเสียงเกียรติยศของบุคคลอื่น และต้องกระทำอย่างได้สัดส่วนเหมาะสม และต้องตอบสนองประโยชน์ดังกล่าวอย่างชัดเจนและจำเป็นอย่างยิ่งยวด (เช่น เป็นมาตรการจำกัดสิทธิขั้นตํ่าสุดเพื่อบรรลุเป้าประสงค์บางประการ)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสห ประชาชาติ (United Nations Human Rights Committee) ซึ่งดูแลการปฏิบัติตามกติกา ICCPR ได้ระบุไว้ในความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 34 ย่อหน้า 35 ว่า “กรณีที่รัฐภาคีอ้างเหตุอันชอบธรรมเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก รัฐดังกล่าวต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนและเป็นรายกรณีว่า การกระทำเหล่านั้นมีลักษณะเป็นภัยคุกคามอย่างไร และชี้ให้เห็นความจำเป็นและความได้สัดส่วนของมาตรการที่นำมาใช้ โดยเฉพาะการทำให้เห็นความเชื่อมโยงโดยตรงและโดยพลันระหว่างการตอบโต้เช่นนั้นกับภัยคุกคามดังกล่าว” แต่ในกรณีนี้ทั้งกองทัพเรือและรัฐบาลไทยไม่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น ไม่มีการอธิบายว่าอาจมีวิธีการอื่นนอกจากการดำเนินคดีต่อนักข่าวทั้งสองคนของสำนักข่าวภูเก็ตหวาน ซึ่งอาจเป็นมาตรการที่เพียงพอเพื่อตอบสนองกับข้อกังวลของตนได้
นอกจากนั้น ย่อหน้า 42 ของความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 34 ยังระบุว่า “การลงโทษสื่อมวลชน ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหรือผู้สื่อข่าว เพียงเพราะแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อรัฐบาล หรือระบบสังคมการเมืองตามแนวคิดของรัฐบาล ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกที่จำเป็นได้” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่อหน้า 47 ของความเห็นทั่วไปฉบับที่ 34 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเรียกร้องให้รัฐต่าง ๆ ยกเลิกการเอาผิดทางอาญาในข้อหาดูหมิ่นและหมิ่นประมาท และยํ้าว่าจะต้องไม่นำกฎหมายเหล่านี้มาใช้เพื่อปราบปรามเสรีภาพในการแสดงออก
องค์กรทั้งหมดในที่นี้รวมทั้งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ จำนวนมากขึ้น เห็นชอบตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเสนอว่า ควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา เนื่องจากบทลงโทษทางอาญาขัดขวางการแสดงออกอย่างเสรี และมักเป็นการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วนอย่างเหมาะสม เมื่อเทียบกับความเสียหายต่อชื่อเสียงที่เกิดขึ้น การที่ประเทศต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญา แสดงให้เห็นว่ากฎหมายดังกล่าวไม่จำเป็นต่อการคุ้มครองชื่อเสียงแต่อย่างใด หลักการโจฮันเนสเบิร์กว่าด้วยความ มั่นคงแห่งชาติ เสรีภาพในการแสดงออก และการเข้าถึงข้อมูลสนเทศ (Johannesburg Principles on National Security, Freedom of Expression and Access to Information) ซึ่งเป็นชุดของหลักการที่มีอิทธิพล และเป็นผลงานการจัดทำของผู้ชำนาญการด้านกฎหมายระหว่างประเทศเมื่อปี 2539 ระบุว่า “ไม่อาจมีการลงโทษบุคคลเพียงเพราะการวิพากษ์วิจารณ์หรือดูหมิ่น…เจ้าพนักงานของรัฐ…เว้นแต่ว่าการวิพากษ์วิจารณ์หรือการดูหมิ่นนั้น จงใจและมีลักษณะยั่วยุให้เกิดความรุนแรงอย่างแท้จริง”
นอกจากนั้น การเดินหน้าฟ้องคดีเช่นนี้ ถือว่ารัฐบาลไทยทำหน้าที่ขัดกับนโยบายของตนเองซึ่งได้แถลงไว้ในรายงานประเทศที่เสนอตามกระบวนการทบทวนตามวาระ (Universal Periodic Review – UPR) ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2554 โดยในการนำเสนอของรัฐบาลไทยได้ระบุว่า
สิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออกเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตยในประเทศไทย รัฐธรรมนูญของเราให้หลักประกันเพื่อเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์และเผยแพร่ ห้ามไม่ให้มีการสั่งปิด แทรกแซง หรือเซ็นเซอร์หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ และห้ามนักการเมืองเป็นเจ้าของหน่วยงานสื่อมวลชน ประเทศไทยยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานเสรีภาพด้านสื่อระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคม และองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศหลายแห่ง ทั้งหมดนี้ย่อมชี้ให้เห็นบรรยากาศอันเสรีที่เอื้อต่อการรายงานข่าวและการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเสรี
กล่าวโดยสรุป ในการดำเนินคดีต่อสำนักข่าวภูเก็ตหวาน รัฐบาลไทยกำลังคุกคามอย่างชัดเจนต่อสิทธิที่รัฐบาลเองอธิบายว่าเป็น “พื้นฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตยในประเทศไทย”
การใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในกรณีนี้ ถือว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่หน่วยงานกองทัพไทยใช้อำนาจตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพื่อเอาผิดกับนักข่าว องค์กรทั้งหมดในที่นี้ขอเรียกร้องให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับนี้ที่ให้อำนาจอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การละเมิดสิทธิ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ แทนที่จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อเซ็นเซอร์นักข่าวที่เขียนข่าวให้หนังสือพิมพ์ บล็อก หรือสื่อชนิดอื่น ๆ เรากังวลว่ามาตรา 14(1) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งถูกใช้ตั้งข้อหาผู้สื่อข่าวสำนักข่าวภูเก็ตหวาน มีเนื้อหากำกวมและตีความได้กว้างขวางเกินไป และกำลังถูกใช้โดยรัฐบาลในกรณีนี้เพื่อปราบปรามเสรีภาพของสื่อและคุกคามการแสดงความเห็นของสำนักข่าวภูเก็ตหวาน
Alan Morison และชุติมา สีดาเสถียร ถูกตั้งข้อหาอย่างไม่เป็นธรรมและถูกกล่าวหาว่าทำความผิดร้ายแรง เพียงเพราะปฏิบัติหน้าที่ของตนในสังคมที่ทางการอ้างว่าเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อ การกระทำของพวกเขาไม่ควรถือว่าเป็นอาชญากรรม เราหวังอย่างจริงใจว่าท่านจะตระหนักถึงข้อมูลนี้ และเรียกร้องให้ถอนฟ้องคดีอาญาและข้อกล่าวหาใด ๆ ต่อผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวภูเก็ตหวาน และให้ยุติการดำเนินคดีใด ๆ ทั้งสิ้น
เราหวังว่าจะได้รับทราบความคืบหน้าจากท่านในประเด็นที่สำคัญนี้
ขอแสดงความนับถือ